การดูแลรูปร่างด้วยการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นกีฬา หรือฟิตเนส หลายๆ คนอาจจะกลัวคำๆ นี้ กลัวความเจ็บปวด กลัวเหนื่อยล้า หรืออ้างว่าไม่มีเวลาออกกำลังกาย บางคนคิดจะดูแลรูปร่างด้วยการออกกำลังกายจนเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เพราะคิดว่าจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง แต่เปล่าเลยการออกกำลังอย่างหักโหม ใจร้อน จะเป็นผลเสียมากกว่า เพราะกล้ามเนื้อจะบาดเจ็บ หรืออาจถึงขั้นฉีกขาดก็เป็นได้ เพราะปรับตัวไม่ทัน

มีการสำรวจในออสเตรเลียในปี 1999 พบว่าคนถึง 1 ใน 3 ไม่ชอบดูแลรูปร่างด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ยอดขายผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนกลับขายดีเป็นเทน้ำเทท่าถึงปีละ 103 ล้านเหรียญออสเตรเลียเลยทีเดียว ในเมืองไทยเองก็ไม่น้อย เพราะยังนิยมผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนกันไม่น้อยเลย แต่ปริมาณต่อปีเป็นเท่าไร ยังไม่เปิดเผย

การดูแลรูปร่างด้วยการออกกำลังกาย เป็นวิธีที่ดี และปลอดภัยที่สุดต่อสุขภาพ เพราะคุณจะได้ทั้งความแข็งแรง กระฉับกระเฉง สดชื่น มีสมาธิ ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และที่สำคัญ หุ่นดี …แล้วเราจะเริ่มต้นยังไงกันดี

แนะนำว่า การดูแลรูปร่างด้วยการออกกำลังกาย ไม่ควรทำให้คุณต้องเสียกำลังเงิน และกำลังกายมากเกินไป แต่ควรจะเลือกวิธีดูแลรูปร่างที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง เหมาะสมทั้งด้านสรีระ สมรรถภาพของร่างกาย และวิถีชีวิตของคุณด้วย เช่น เลือกเล่นกีฬา หรือออกกำลังประเภทที่ชอบ ไม่เหนื่อยเกินกำลัง หรือไม่ต้องถ่อสังขารเดินทางไกล ฝ่ารถติด เพื่อไปออกกำลังกายที่ใดที่หนึ่ง

ข้อคิดดีๆ ในการเริ่มต้นดูแลรูปร่างด้วยการออกกำลังกาย

1. เวลา ก่อนอื่น ถ้าตั้งใจว่าคุณจะดูแลรูปร่างอย่างสม่ำเสมอ ก็จงเริ่มต้นด้วยการแบ่งเวลาไว้สำหรับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่าง หนึ่งสัปดาห์มี 168 ชั่วโมง ตั้งเป้าไว้เลยว่า คุณอาจจะแบ่งเวลาให้กับการออกกำลังกายไว้สัก 5 ชั่วโมง อาจจะเฉลี่ยเป็นวันละ 40 นาที แต่มีข้อแม้ว่าต้องปฏิบัติให้ได้ แล้วเมื่อคุณออกกำลังกายสม่ำเสมอ นานไปก็อาจจะติดเป็นนิสัยไปเลย

2. งบประมาณ การดูแลรูปร่างด้วยการออกกำลังกายมีหลายประเภท ทั้งที่ต้องเสียเงินเยอะ กับที่ไม่ต้องเสียเงินเลย แต่ถ้าพอใจที่จะเป็นสมาชิกตามฟิตเนสคลับตามเพื่อนๆ ก็ดี แต่ต้องบังคับตัวเองว่าเสียเงินแล้ว ต้องไปใช้บริการดูแลรูปร่างของคุณได้จริงๆ นอกจากนี้ต้องคิดดูว่าที่นั่นมีสมาชิกหนาแน่น จนคุณไปแล้ว จะได้รับความสะดวกรึเปล่า และควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่ทำงาน เพราะจะได้ไม่ต้องเหนื่อยหรือเสียเวลาเดินทาง

3. ยอมรับในความสามารถ และสมรรถนะของตัวเอง ว่าทำได้แค่ไหน อย่าหักโหม ฝึกดูแลรูปร่างแบบค่อยเป็นค่อยไป ให้ร่างกายได้ปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากหยุดการออกกำลังกายมานาน แล้วมาเริ่มใหม่ ควรปรึกษาผู้ฝึกสอนก่อนเริ่มต้นจะดีกว่า

4. มุ่งมั่นในจุดมุ่งหมาย จะทำให้คุณมีแรงบันดาลใจที่จะดูแลรูปร่างอย่างสม่ำเสมอ เช่น ตั้งใจจะบริหารให้กล้ามเนื้อแน่นขึ้น แข็งแรงได้สัดส่วนขึ้น ลดน้ำหนัก ลดพุง ลดก้น ฯลฯ

การออกกำลังแบบเพิ่มสมรรถนะการสูบฉีดโลหิตของหัวใจ (Cardiovascular–CV Exercise)

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มจะดูแลรูปร่าง ควรเลือกการออกกำลังกายแบบเบาๆ ก่อน เพื่อให้หัวใจคุ้นกับการสูบฉีดเลือดที่แรงขึ้นๆ เช่น เดินเร็วประมาณ 3-4 ก.ม./ช.ม. เล่นกอล์ฟ หรือแอโรบิคในน้ำ หรือว่ายน้ำช้าๆ ก็ได้ สัก 1 สัปดาห์ เมื่อร่างกายเริ่มคุ้นและเข้าที่ ค่อยปรับเป็นเดินเร็วขึ้น 6-7 ก.ม./ช.ม. ว่ายน้ำเร็วขึ้น หรือตีเทนนิส ขี่จักรยาน ที่ต้องใช้กำลังเร็วและแรงขึ้น วัดระดับความเหนื่อยของการออกกำลังกายได้โดยสังเกตการหายใจที่แรงขึ้น ถ้ายังสามารถพูดคุยได้อยู่ก็แปลว่ายังไม่เหนื่อยเกินไป เพราะระดับนี้กำลังดีต่อสุขภาพและการดูแลรูปร่าง

การออกกำลังกายเพื่อดูแลรูปร่างให้ได้สัดส่วน (Tone and Shape)

คงไม่พ้นเรื่องของฟิตเนส การยกน้ำหนัก การใช้อุปกรณ์ กายบริหารท่าต่างๆ การฝึกศิลปะป้องกันตัว โยคะ รวมถึงกีฬาบางชนิด เช่น ว่ายน้ำ ที่มีส่วนในการปรับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ให้ได้รูปร่างและสัดส่วน ถ้าคุณไม่เข้าฟิตเนส ที่มีผู้ฝึกคอยดูแล จะซื้อวีซีดีมาปฏิบัติเองที่บ้านก็ได้ การดูแลรูปร่างอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น จึงจะเห็นผล

ข้อควรระวัง การออกกำลังอย่างหักโหมไม่ใช่เรื่องดี แต่ควรค่อยเป็นค่อยไป ระบบเผาผลาญในร่างกายจะทำงานดีขึ้น ควรออกกำลังกายสั้นๆ แต่สม่ำเสมอ ระยะเวลาที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในรูปร่าง และสุขภาพขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ชนิดและขนาดของการออกกำลังกาย การกินอาหาร สมรรถภาพของร่างกาย ปกติแล้วการดูแลรูปร่างอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกัน 4 สัปดาห์ จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เห็นอย่างชัดเจน แต่สำหรับบางคนอาจจะเห็นผลช้า ก็ต้องแน่วแน่กับความตั้งใจในการดูแลรูปร่าง และอย่าหยุด เพราะสุขภาพดีๆ กำลังรอคุณอยู่

ดูแลรูปร่าง โดย fit-and-firm.co.cc